Thai English

พุทธภูมิ

พุทธภูมิ คือ สถานที่ที่เทศบาลนครนครศรีธรรมราชได้จัดเป็นอุทยานเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา ในพื้นที่่ ๒๕ไร่ โดยประมาณ อยู่ทางทิศใต้ของสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ๘๔(ทุ่งท่าลาด)

           เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองราชย์ครบ ๖๐ ปี เทศบาลนครนครศรีธรรมราชได้จัดโครงการพุทธภูมิเพื่อเฉลิมพระเกียรติขึ้นโดยฝ่ายบริหาร คือ นายกเทศมนตรี และฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สภาเทศบาลต่างเห็นชอบอนุมัติโครงการอนุมัติงบประมาณเพื่อการก่อสร้างจำนวน ๑๐ ล้านบาท โครงการนี้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายทันตามกำหนดเวลา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๙ และเปิดให้เยี่ยมชมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

           จุดเริ่มต้นของการเยี่ยมชมพุทธภูมิ เริ่มต้นที่การสักการะบุชา "พระพุทธสิรินครนาถ เฉลิมราชย์สัฏฐยานุสรณ์ื" เป็นพระพุธทรูปปางลีลา ความสูง ๔.๙๙ สมเด็จพระญาณสังวรสมด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานนามให้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองและประชาชนชาวนครศรีธรรมราช ประดิษฐานเป็นพระประธานแห่งพุทธภูมิ โดดเ่ด่นอยู่กลางอุทยาน เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมระลึกถึงพระพุทธคุณก่อนที่จะเดินทางศึกษาเวชนียสถาน คือ สถานอันเป็นที่ตั้งแห่งจิตของพุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงให้เกิดสังเวช เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจให้เิกิดความไม่ประมาณ และเร่งขบวนขวนขวายประกอบกุศลกรรม ๔สถาน ได้แก่
๑ . ชาตสถาน ที่พระพุทธเจ้าประสูตร
๒ . อภิสัมพุทธสถาน ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
๓ . ธัมมจักกัปปวัตนสถาน สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา
๔ . ปรินิพพานสถาน ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน

ลุมพินี สถานที่ประสูตร

ด้วยบุญญาบารมีแห่งพระมหาสัตว์เมื่อมาจุติในครรภ์พระมารดา มิได้เป็นที่คับแคบเหมือนดังสัตว์ทั้งปวง ทรงสถิตอยู่เป็นสุขเหมือนดั้งนั้งอยู่บนเตียงทองดุจมหาพรหมอันสถิตในวิมานแก้วพระกายก็มิได้แปดเปื้อนระคนด้วยอสุจิ กอปรด้วยสติสัมปชัญญะทราบ พระองค์พระมารดาก็มิได้เหน็ดเหนื่อยหนักพระอุทรเมื่อถึงกำหนดคลอดจากครรภ์มารดา ยึดพระบาทและพระหัตถ์ออกมาก่อนดุจธรรมกถึกลงจากธรรมาสน์ บ่มิได้เกิดทุกขเวทนาแก่พระองค์ พระมหาบุรุษลงเหยียบยังพื้นบ่ายพระพักตร์ไปทางทิศอุดรแล้วย่างพระบาทไปเจ็ดก้าวบนทิพยปทุมชาติเปล่งสุรเสียงว่า "อาตมานี้ประเสริฐยิ่งใหญ่หาผู้ประเสริฐเสมอมิได้และชาตินี้เป็นที่สุดแห่งอาตมา" ทั้งหมื่นโลกธาตุก็หวาดไหวเกิดโอภาสกว้างไปทั่วทั้งปวง

สารนาถ สถานที่แสดงปฐมเทศนา
พระสัพพัญญูทรงพิจารณาเห็นสัตว์โลกที่พึ่งแนะนำได้ดั่งบัว 4 เหล่า คือ พร้อมจะบานวันนี้ 1 ดอก ตั้งเสมอจมน้ำจะบานพรุ่งนี้ 1 ดอก ใต้น้ำอีก 3 วัน จะบาน 1 และดอกพึ่งงอกจากเง่า 1 จึงเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงแสดงพระธรรมจักกัปปวัตนสูตรชี้ทางไม่ควร 2 ทาง คือ กามสุขัลลิกานุโยค คือ ปฏิบัติเอาแต่สะดวกสบาย และอัตตกิลมถานุโยค คือ ทรมานตน ให้เกิดความลำบาก และชี้ทางปฏิบัติดำเนินโดยวิถีมัชฌิมปฏิบัติเห้นแจ้งในอริยสัจจ์ 4 พระโกณฑัญญะบรรลุพระโสดาปัตติผล เป็นพะเสขะบุคคลในพระศาสนาเป็นองค์แรก

พุืืทธคยา สถานที่ตรัสรู้
สมเด็จพระมหาสัตว์เสด็จประทับเบื้องบนวชิรรัตนบัลลังก์บ่ายพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกดำรงพระสติมั่นออกพระโอษฐ์ดำรัสพระสัตยาธิษฐานว่า"ถ้ากมลสันดานแห่งอาตมาไม่พ้นอาสวิกเลสกามคุณ ตราบใดถึงแม้นมาตรว่าหฤทัย และเนื้องหนังทั้งเอ็น อัฐ จะแห้งเหือดตลอดถึงเลือดและมันจ้นจนทั่วสรีรกายอาตมาก็มิได้ทำลาย ซึ่งสมาธิบัลลังก์อันนี้เลยคงจะเพียรให้บรรลุเสวยพุทธาภิเษกสมบัติวชิรบัลลังก์อาสน์นี้ให้จงได้" ตั้งพระทัยหมายมั่นพระสัพพัญญุตญาณด้วยพระวิริยะมุ่งมั่น และบำเพ็ญบารมีถ้วนทุกประการ สามารถขจัดเสียซึ่งมาร มีกิเลสมาร 1 มัจจุมาร1 และเทวบุตรมาร 1 ล่วงกาลปัจฉิมยามพิจารณาพระปฏิจจสมุปปบาทแตกฉานสำเร็จพระสัพพัญญุตญาณ พร้อมกับมหัศจรรย์ทั้งปวง

กุสินารา: สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณสั่งสอนเวไนยสัตว์ทรงประดิษฐานบริษัททั้ง 4 ทรงประกาศสัทธรรมล่วงเข้าพรรษาที่ 45 ทรงปลงอายุสังขารทรงมีปัจฉิมโอวาทว่า "ท่านทั้งหลายจงประกอบด้วยสติอย่าได้ประมาทพึงกระทำซึ่งสิ่งเป็นที่พึ่งแก่อาตมาคือพระจตุปาริสุทธิ์สิลาจารเจริญสมถวิปัสสนากรรมฐานทุกส่ิงสมณธรรมเป็นอันดี" เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยานกุสินาราสมัยกาลวันวิสาขปุณมีราตรี ปัจจุบันสมัยอเนกมหัศจรรย์ก็บันดาลทั่วเมทนีดลสกลนภากาศ