Thai English

สำนักการคลัง


 ข้อมูลทั่วไปของสำนักการคลัง เทศบาลนครศรีธรรมราช
สำนักการคลัง เทศบาลนครศรีธรรมราช ได้ยกฐานะการคลังจากสุขาภิบาลมาเป็นเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช
และได้มีการปรับปรุงพัฒนาในการกระบวนการบริหารการคลัง มาจนถึงปัจจุบัน
มีข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการบริหารงานคลัง ดังนี้

  • 1. งบประมาณรานจ่ายตามเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
  • 2. พื้นที่ที่รับผิดชอบทั้งหมด 22.56 ตารางกิโลเมตร
  • 3. จำนวนแปลงที่ดิน 41,289 แปลง
  • 4. จำนวนเจ้าขอองทรัพย์สิน 27,808 ราย
  • 5. จำนวนผู้อยู่ในข่ายต้องชำระภาษี 12,510 ราย
  • 6. ข้อมูลด้านรายรับ - รายจ่าย ของเทศบาลนครศรีธรรมราช
  • 7. งบประมาณสำนักการคลังตั้งไว้ประมาณปีละ 18,209,800. - บาท
  • 8. ข้อมูลการประมาณการรายรับตั้งไว้ประมาณปีละ 804,650,000. - บาท
  • 9. อัตรากำลังพนักงานและลูกจ้าง จำนวน 58 คน
  การปฏิบัติงานสำนักการคลัง มีกระบวนการบริหารงานคลังและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารด้านงาน
จัดเก็บรายได้ ด้านงานแผนที่ภาษีและทะเบียนและทรัพย์สิน ด้านงานธุรการด้านการเงินและบัญชี และด้านงานพัสดุและทรัพย์สิน ดังนี้

 การบริหารงานคลัง หมายถึง การบริหารหรือการจัดการเกี่ยวกับกิจกรรมทางการคลังในด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โดยจะต้องวิเคราะห์ถึงประเด็น หรือตัวประเมินผล รวมทั้งกระบวนการตัดสินใจและระบบข้อมูลของหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านต่างๆ ดังกล่าว
เพื่อหาข้อมูลในประเด็นปัญหาแต่ละเรื่อง และเสนอแนะให้มีการแก้ไขปัญหาต่อไปแปรของการบริหารต่าง ๆ เช่น การจัดองค์การ การวางแผน
การกำหนดนโยบาย การอำนวยการ การประสานงาน ระบบการรายงาน การตรวจสอบควบคุม และการติดตาม

 การบริหารงานคลังข้างต้น ได้แก่ การบริหารงบประมาณ การบริหารการจัดเก็บรายได้ การบริหารเงินสะสม การบริหารเงินนอกงบประมาณ
การบริหารระบบบัญชี การบริหารพัสดุ และรายงานการคลัง

 ระบบการบริหารงานคลัง หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการบริหารงานคลัง หรือ หมายถึง องค์ประกอบต่าง ๆ
ซึ่งรวมกันเป็นโครงสร้างของระบบการคลัง ซึ่งมีการดำเนินงานเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน มีระเบียบ แลกฎหมายต่างๆ
ที่กำหนดไว้ให้ถือปฏิบัติกิจกรรมทางการคลังที่สำคัญและมีระบบความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันมีอย่างน้อย 7 กิจกรรม คือ
  • 1. การกำหนดนโยบาย และแผนการคลัง
  • 2. การบริหารงบประมาณ
  • 3. การบริหารการจัดเก็บรายได้ และการหารายได้
  • 4. การบริหารเงินสะสม
  • 5. การบริหารพัสดุ
  • 6. การบัญชีและระบบข้อมูลทางการคลัง
  • 7. การประเมินผลทางการคลัง


  • 1. การกำหนดนโยบายและแผนการทางการคลัง หมายถึง การใช้เครื่องมือทางการคลังให้บรรลุตามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดขึ้น ดังนั้น
    ก่อนที่จะเริ่มกำหนดนโยบายการคลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีแผนพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
    ในทางปฏิบัติหากไปได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจพิจารณากำหนดเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาลก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้นโยบายดังกล่าวมีความเป็นไปได้
    กำหนดนโยบายและการวางแผนทางการคลัง มีความสำคัญในการกำหนดทิศทางและจัดลำดับความสำคัญของนโยบายด้านต่างๆ
    ที่เกี่ยวข้องกับรายจ่ายและรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  • 2. การบริหารงบประมาณ หลังจากได้กำหนดนโยบาย และแผนการคลังแล้ว กิจกรรมในลำดับต่อไปจะเป็นการบริหารงบประมาณ
    ซึ่งระบบงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในปัจจุบันนี้เป็นระบบงบประมาณแบบแผนงาน
    (Planning programming budgeting system )PPBS ซึ่งงบประมาณดังกล่าว มิได้หมายถึงการประมาณรายได้ รายจ่ายเท่านั้น
    แต่ยังหมายถึง แผนปฏิบัติการในรอบระยะเวลาหนึ่ง โดยแสดงออกเป็นจำนวนเงินที่ประมาณว่าจะต้องจ่ายในการปฏิบัติงาน
    พร้อมทั้งแสดงแหล่งที่มาและวิธีการหาเงินมาเพื่อใช้จ่ายตามแผนงาน


  • 3. การบริหารการจัดเก็บรายได้ และการหารายได้ หน้าที่หนึ่งในกระบวนการบริหารงานคลัง คือ
    การหารายได้ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระบบการบริหารการจัดหารายได้ ประกอบด้วย การวางแผน
    วิธีการจัดเก็บภาษีการตรวจสอบควบคุม ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดเก็บภาษีประสิทธิภาพ ถูกต้องเหมาะสมและเกิดการยอมรับและได้รับความร่วมมือกับประชาชน
    ในการจัดหารายได้นั้นก็เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำรายได้มาพัฒนาท้องถิ่น และใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนด


  • 4. การบริหารเงินสะสม เงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง เงินรายรับเหลือแต่ละปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการปฏิบัตินั้นมีไว้เพื่อใช้จ่ายเวลาที่จำเป็น เช่น เมื่อยังไม่ได้รับรายได้ประจำ
    หรือรับรายได้ในส่วนที่จะต้องรับเป็นประจำล่าช้า อันเนื่องมาจากเหตุผลทางการเมือง
    หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจตกต่ำทำให้ประมาณการรายรับในส่วนที่คาดไว้ไม่ได้ตามที่ประมาณการ
    เป็นต้น ดังนั้น เงินสะสมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเก็บไว้จึงเป็นการรักษาสมดุลการคลังให้มีเสถียรที่มั่นคง


  • 5. การบริหารพัสดุ เป็นการนำเทคนิคในการจัดการหรือการบริหารมาใช้เพื่อให้เกิดการประหยัดรายจ่ายในปัจจุบัน
    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งมีหน่วยงานกลางรับผิดชอบการดำเนินการพัสดุโดยตรง แต่การบริหารพัสดุยังไม่ครอบคลุมถึงวงจรของ
    กระบวนการบริหารพัสดุ คือ การบริหารงานหลายโครงการยังไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย ก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองทั้งด้านกำลังคนและทรัพยากร


  • 6. ระบบบัญชี และระบบข้อมูลข่าวสารทางการคลัง ระบบบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง การบันทึกรายงาน
    เกี่ยวกับการรับการจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การแยกประเภท สรุปผลที่เกี่ยวกับการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    เมื่อสิ้นงวดหนึ่ง และเป็นเครื่องมือที่ให้รายละเอียดและข้อมูลกับฝ่ายบริหารเพื่อใช้ในการวางแผนแลควบคุมการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    ให้มีเสถียรภาพแลสามารถใช้ในการตรวจสอบ วิเคราะห์ และประเมินผลการดำเนินงาน
    ระบบข้อมูลข่าวสารทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการจัดทำรายงานการเงินตามระบบบัญชีที่กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำ ทั้งนี้
    เพื่อให้ประชาชนทราบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บภาษีไปทำกิจกรรมอะไรบ้าง มีการควบคุมค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด


  • 7. การประเมินผลทางการคลัง การติดตามประเมินเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการบริหาร เพื่อจะจ่าย ให้ผู้บริหารเงิน เพื่อจะจ่าย
    ให้ผู้บริหารทราบปัญหา อุปสรรค เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงแผนต่อไปในอนาคตและนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลไปใช้ในการวางแผน
    กระบวนการบริหารงานคลังข้างต้น เป็นการประมวลภาพจากการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า
    การปฏิบัติงานของกองคลังนั้น มิใช่ปฏิบัติงานการรับจ่ายที่เป็นงานปกติ แต่เป็นการปฏิบัติงานที่มีกระบวนการหลาย ๆ อย่างมาผนวกกัน และต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ
    ประสบการณ์ที่ผ่านมาช่วยปฏิบัติจึงจะสัมฤทธิ์ผล โดยที่ผู้ปฎิบัติต้องยืนอยู่บนหลักการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้เพื่อให้การทำงานทั้งหลายมีประสิทธิภาพ
    และมีประสิทธิผล ปัจจุบัน สำนักการคลัง ได้นำระบบและโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในการปฏิบัติงานทุกด้าน เพื่อให้งานด้านบริการสะดวก รวดเร็ว
    ประชาชนพึงพอใจต่อเทศบาล



โครงสร้างส่วนราชการและการแบ่งส่วนราชการภายในของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
                สำนักการคลัง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกา
งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้างค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ บำนาญ เงินอื่น ๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่าง ๆ
การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ การควบคุมการเบิกจ่ายงานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี งานเกี่ยวกับพัสดุของเทศบาล
และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย มีการแบ่งส่วนราชการภายในดังต่อไปนี้

1. ส่วนบริหารการคลัง มีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานใน งานธุรการ ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายพัสดุและทรัพย์สิน ฝ่ายสถิติการคลัง
 1.1 งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานของกอง ฝ่าย และงานดังต่อไปนี้
      1. งานสารบรรณ
      2. งานดูแลรักษา จัดเตรียม และให้บริการเรื่องสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ กาติดต่อและอำนวย ความสะดวกในด้านต่างๆ
      3. งานประสานงานเกี่ยวกับการประชุมสภาทศบาล คณะผู้บริหาร และพนักงานเทศบาล
      4. งานสาธารณกุศลของเทศบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ที่ขอความร่วมมือ
      5. งานตรวจสอบแสดงรายการเกี่ยวกับเอกสารสำคัญของทางราชการ
      6. งานรักษาความสะอาดและปลอดภัยของสถานที่ราชการ
      7. งานขอราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญจักรพรรดิมาลา และผู้ทำคุณประโยชน์
      8. งานจัดทำคำสั่งและประกาศของเทศบาล
      9. งานรับเรื่องราวร้องทุกข์และร้องเรียน
      10. งานพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงาน ลูกจ้าง และการให้บำเหน็จความชอบเป็นพิเศษ
      11. งานการลาพักผ่อนประจำปีและการลาอื่น ๆ
      12. งานสวัสดิการของกองหรือฝ่าย
      13. งานด้านประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับรายได้และแนะนำอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
      14. งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
 1.2 ฝ่ายการเงินและบัญชี มีหน้าที่เกี่ยวกับ
      1. งานตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินทุกประเภท
      2. งานควบคุมและจัดทำทะเบียนงบประมาณรายจ่าย
      3. งานจัดทำเช็คและจัดเอกสารการจ่ายเงิน
      4. งานการจ่ายเงินและตรวจสอบหลักฐานใบสำคัญคู่จ่าย
      5. งานจัดทำบัญชีและทะเบียนที่เกี่ยวข้องทุกประเภท
      6. งานจัดทำรายงานประจำวัน ประจำเดือน ประจำปี และรายงาน อื่น
      7. งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
 1.3 ฝ่ายพัสดุและทรัพย์สิน มีหน้าที่เกี่ยวกับ
      1. งานการซื้อและการจ้าง
      2. งานการซ่อมและการบำรุงรักษา
      3. งานการจัดทำทะเบียนพัสดุ
      4. งานการตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุและเก็บพัสดุ
      5. งานการจำหน่ายพัสดุ
      6. งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
 1.4 ฝ่ายสถิติการคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับ
      1. งานจัดทำสถิติรายรับ และรายจ่ายจริง ประจำปีงบประมาณ
      2. งานจัดทำประมาณการรายรับ และรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
      3. จัดทำสถิติการรับและจ่ายเงินนอกงบประมาณ
      4. จัดทำสถิติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินสะสม
      5. จัดทำสถิติเกี่ยวกับการรับ และจ่ายเงินอุดหนุน
      6. จัดทำสถิติรายรับและรายจ่ายเกี่ยวกับงบเฉพาะการ
      7. การรายงานสถิติการคลังประจำปีและการให้บริการข้อมูลทางด้านสถิติการคลัง
      8. งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

                2. ส่วนพัฒนารายได้ มีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน ของฝ่ายพัฒนารายได้ ฝ่ายแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ฝ่ายผลประโยชน์และกิจการพาณิชย์

 2.1 ฝ่ายพัฒนารายได้ มีหน้าที่ควบคุมดุแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานในงานผลประโยชน์
      1. งานจัดทำประกาศให้มายื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สิน เพื่อชำระภาษี
      2. งานตรวจสอบแลจัดทำบัญชีผู้ที่อยู่ในเกณฑ์เสียภาษี ในปีงบประมาณจัดเก็บจากทะเบียนคุมผู้ ชำระภาษี ( ผ. ท.5)
      3. งานรับแลตรวจแบบแสดงนายการทรัพย์สิน หรือแบบคำร้องของผู้เสียภาษีค่าธรรมเนียม และนายได้อื่นๆ
      4. งานพิจารณาการประเมินและกำหนดค่าภาษี ค่าธรรมเนียมในเบื้องต้นเพื่อนำเสนอพนักงาน เจ้าหน้าที่
      5. งานแจ้งผลการประเมินค่าภาษีแก่ผู้เสียภาษี
      6. งานจัดเก็บและชำระเงินรายได้จากภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น
      7. งานลงรายการเกี่ยวกับภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่และภาษีป้ายในทะเบียน เงิน ประโยชน์ และทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ. ท. 5) ของผู้เสียภาษี แต่ละรายเป็นประจำทุกวัน
      8. งานดำเนินการเกี่ยวกับการพิจาณาอุทธรณ์ภาษี
      9. การเก็บรักษาเงิน และการนำส่งเงินประจำวัน
      10. งานเก็บรักษาและเบิกจ่ายแบบพิมพ์ต่าง ๆ
      11. งานเก็บรักษาเอกสารและหลักฐานการภาษี ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น
      12. งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
 2.2. ฝ่ายแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน มีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติและประสานงานในหน้าที่งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
           งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน มีหน้าที่เกี่ยวกับ  1. งานคัดลอกข้อมูลที่ดิน
      2.งานปรับข้อมูลแผนที่ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
      3. งานปรับข้อมูลแผนที่ภาษีภาษีบำรุงท้องที่
      4. งานตรวจสอบข้อมูลภาคสนาม
      5. งานตรวจสอบรหัสประจำแปลงที่ดิน
      6. งานจัดทำรายงานเสนอทะเบียนทรัพย์สิน และงานบบริการข้อมูล
      7. งานจัดเก็บและบำรุงรักษาแผนที่ภาษี
      8. งานปรับข้อมูลในทะเบียนทรัพย์สินและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (ผ. ท. 1, 2, 3, 4, 5, 6, 9, 11, 12, 17)
      9. งานตรวจสอบรหัสประจำแปลงที่ดิน รหัสชื่อเข้าของทรัพย์สินและรหัสชื่อผู้ชำระภาษี (ผ.ท.4 และ 5 )
      10. งานจัดเก็บและดูแลรักษาทะเบียนทรัพย์สินและเอกสารข้อมูลต่างๆ
      11 การจัดทำรายงานประจำเดือน
      12. งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
 2.3 ฝ่ายผลประโยชน์และกิจการพาณิชย์

            หลักการบริหาร
      การบริหารงานเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
      แนวคิดการบริการประชาชน
      1.หลักความรับผิดชอบ : รับผิดชอบตามอำนาจแลtหน้าที่ของเทศบาล ฯ และสิทธิของประชาชนเทศบาลบริการประชาชนอย่างเท่าเทียม เสมอภาค เช่น
เทศบาลให้บริการโดยใช้คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ให้บริการด้วยความเท่าเทียมเสมอภาค
      2. หลักการความสอดคล้อง :เทศบาลปรับเปลี่ยนการให้บริการให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เช่น ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน
ดำเนินการขยายของเท่าทุน ณ เทศบาลและชุมชน ดำเนินการให้ผ่อนผันการชำระ ค่าติดตั้งประปาผ่อนผันการชำระภาษี
เพื่อแบ่งเบาภาระให้ประชาชนที่ปัญหาทางด้านด้านเศรษฐกิจ
      3. หลักประสิทธิภาพ : เช่น การบริการดำเนินการเก็บค่าขนขยะรวมกับค่าน้ำประปา เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายประจำ
และใช้หลัก ONE STOP SERVICE บริการจุดเดียวเสร็จสิ้น
      4. หลักการความเชื่อถือไว้วางใจ : การบริการเทศบาลมีการจัดสำนักงานลักษณะเปิดโปร่งใสติดต่อได้ทุกช่องทาง ข้อมูลข่าวสารเปิดเผย
ประชาชนเกิดความเชื่อถือศรัทธา ทำให้ผู้บริหารเทศบาลเป็นที่ยอมรับ และได้รับการสนับสนุนเข้ามาบริหารต่อเนื่อง
      5. หลักการยิ้มแย้มแจ่มใส :ผู้บริหารและพนักงานเทศบาลยิ้มแย้มใสเอาใจใส่ประชาชนประดุจลูกค้า และยึดหลัก "ยิ้มงาม ถามไถ่
มาธุระเรื่องใด เต็มใจบริการ"
      6. หลักการรวดเร็วทันใจ : การบริการต้องตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าอย่างทันใจ เน้นความเสมอภาค ใช้คอมพิวเตอร์มาบริการด้วยความรวดเร็ว
และให้ความเป็นธรรม โดยใช้บัตรคิวกำหนดเวลาแล้วเสร็จในแต่ละงาน
      7. หลักการให้เกียรติ :บุคลากรในเทศบาลทุกคนคิดว่าประชาชนที่มาติดต่อคือลูกค้า ให้เกียรติลูกค้าในการดำเนินการทุกขั้นตอน
      8. หลักการเต็มใจในการบริการ :พนักงานทุกคนต้องมีจิตสำนึกในการบริการ Service Mind ต้องจัดระบบให้คนที่อยู่ในหน่วยงานมีวัฒนธรรมเดียวกัน
มีความรู้สึกนึกคิดเดียวกันในการให้บริการ เช่น การให้เจ้าหน้าที่ไปทดแทน
      9. หลักการตื่นตัวกระฉับกระเฉง : กระตือรือร้นในการให้บริการเป็นฝ่ายที่เข้าไปหาประชาชนและถามไถ่มาธุระเรื่องใด
      10. หลักการภาพพจน์ที่ดี : บริการที่ดี โปร่งใส ตรวจสอบได้ ประชาชนมั่นใจ สร้างภาพพจน์ที่ดีแก่เทศบาล

           การให้บริการประชาชน
      1. การให้บริการแบบ One Stop Service : คือการให้บริการร่วมกันเสร็จสิ้นในจุดเดียว และกำหนดแล้วเสร็จทุกขั้นตอน ทุกหน่วยงาน
สามารถเชื่อมโยงประสานกันได้ในแนวราบ และมีประชาสัมพันธ์คอยให้คำแนะนำ
      2. การให้บริการเชิงรุก : การบริการเคลื่อนที่ของเทศบาล เคลื่อนที่ไปตามชุมชนต่างๆ ทุกหน่วยงานของเทศบาล ฯ
เดินทางไปพบประชาชน เช่น เทศบาลออกหน่อยพบประชาชนทุกเดือนพยาบาลออกหน่วยเคลื่อนที่ตามชุมชนทุกวันทำการ
และการให้บริการออกเก็บภาษีถึงบ้านและนำส่งบัตรประจำตัวประชาชนถึงพื้นที่
      3. เทศบาลมุ่งเน้นในการลดค่าใช้จ่ายและให้ความสำคัญกับผู้มีรายได้น้อย : เช่น การให้ผ่อนชำระค่าติดตั้งประปาผ่อนชำระภาษี
การจัดส่งบัตรประชาชนถึงบ้าน การขายของเท่าทุน เป็นต้น จัดระบบสื่อสารติดต่อได้หลายช่องทาง ให้ประชาชนได้เหตุ ร้องเรียน
ร้องทุกข์ ขอรับความช่วยเหลือ และยื่นคำร้องได้ตลอด 24 ชม. โดยผ่านทางโทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร โทรสาร (FAX ) Internet และทางเอกสารโดยยื่นคำร้อง