Thai English


กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม







           มีอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ว่าด้วยการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ศึกษา วิจัย พัฒนาองค์ความรู้ ปรับปรุงรูปแบบการจัดระบบการใช้บริการด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม การรักษาความสะอาด การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย การสัตวแพทย์ การควบคุมป้องกันโรคติดต่อ การสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม จัดให้บริการเผยแพร่ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการป้องกันโรค การควบคุมสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมอนามัย ตลอดจน การคุ้มครองผู้บริโภคให้แก่ประชาชนรวมทั้งหน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมรักษาไว้ซึ่งคุณภาพสิ่งแวดล้อมบริหารงาน ด้านการจัดการคุณภาพด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากภาวะมลพิษ ประสานการบริหารจัดการ การบำรุงและการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น จัดบริการรักษาความสะอาด การจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวมทั้งการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมกำหนดนโยบายแนวทางปฏิบัติงานตลอดจนประสานแผนการให้บริการ ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามนโยบายหลักของผู้บริหารงานท้องถิ่นและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัด และส่วนกลาง ส่งเสริมการประสานงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและเสริมศักยภาพในการดำเนินกิจกรรม กระตุ้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอันจะนำไปสู่การสังสรรค์คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของเทศบาล พร้อมทั้งปฏิบัติงาน อื่นใดตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย โดยแบ่งส่วนฝ่าย งานภายในกอง ดังนี้

1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการและสารบรรณทั่วไปของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินการเกี่ยวกับการช่วยอำนวยการและงานเลขานุการ งานธุรการ งานการเงินและบัญชี พัสดุ-ซ่อมบำรุง อาคารสถานที่และยานพาหนะ การจัดระบบงานและการบริหารงานบุคคล สนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจัดบริหารจัดการงานภายในฝ่าย ดังนี้

        1.1 งานธุรการ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไปได้แก่ การจัดทำบัญชีลงรับ-ส่งหนังสือ การร่างโต้ตอบหนังสือ การจัดทำบันทึกสรุปการประชุม การจัดทำประกาศ คำสั่ง การเวียนแจ้งหนังสือ การบันทึกข้อมูล การเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัยทะเบียนประวัติ การขอรับบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การประกาศเกียรติคุณ

       1.2 งานการเงินและบัญชี มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี เงินทุนหมุนเวียน จัดทำบัญชีเงินเดือน การเบิกจ่ายงบประมาณ การจัดทำบัญชีรับ-จ่ายของกอง และงานรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการพัสดุ การจัดซื้อ จัดจ้าง การจัดทำทะเบียนทรัพย์สิน การซ่อมแซมบำรุงครุภัณฑ์ยานพาหนะและสิ่งก่อสร้างของกอง การจัดทำบัญชีคุมวัสดุของกองและงานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย





2. ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สนับสนุนทางด้านวิชาการ โดยการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย กำหนดมาตรการและแผนการดำเนินงาน การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาด พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 และกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวข้อง ควบคุมกำกับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสุขาภิบาล การอนามัยสิ่งแวดล้อม งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ งานคุ้มครองผู้บริโภคและวิเคราะห์สารเคมี การพัฒนาระบบจัดเก็บมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การควบคุมมลพิษและเหตุรำคาญ และปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย โดยแบ่งงานภายในส่วนของฝ่าย ดังนี้

        2.1 งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริม พัฒนาสุขาภิบาลและการออกใบอนุญาตสถานประกอบการต่างๆ ในเขตเทศบาล ที่ต้องควบคุมตามกฎหมาย เช่น การสุขาภิบาลสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร การสุขาภิบาลน้ำดื่ม-น้ำใช้ การสุขาภิบาลสถานที่เสริมสวยแต่งผม การสุขาภิบาลตลาดสด การจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะ การควบคุมการประกอบกิจการที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การควบคุม ป้องกันการอนามัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมอันจะมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น การเฝ้าระวังคุณภาพอากาศ การเฝ้าระวังคุณภาพแหล่งน้ำ การจัดการสุขาภิบาลอาคารสถานที่และโรงงานอุตสาหกรรม การควบคุมสุขลักษณะของอาคาร การชีวอนามัย การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุสานและฌาปนสถาน ควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ และงานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย





       2.2 งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผน ค้นคว้า วิจัยการให้บริการ การจัดทำโครงการด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่รับผิดชอบ เช่น การป้องกันและควบคุมโรคในโรงเรียนและชุมชน การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา การป้องกันโรคติดต่อชนิดต่างๆ การควบคุมแมลงและพาหะนำโรค การสอบสวนควบคุมโรคติดต่อ งานควบคุมโรคติดต่ออื่นๆ การควบคุมโรคระบาด การชันสูตรสาธารณสุขและงานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

        2.3 งานพัฒนาระบบจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การศึกษารวบรวมข้อมูล วิเคราะห์สภาพปัญหา การวางแผนจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพ การจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลการรักษาความสะอาด การรายงาน การจัดเก็บ การขนส่ง การจัดการของเสียอันตราย รวมทั้งการลดปริมาณมูลฝอย การจัดหาและพัฒนาเครื่องจักรกลใน ด้านการรักษาความสะอาด การพัฒนาบุคลากรการส่งเสริมสมรรถนะ การบริหารจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การพัฒนาปฏิรูป มูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้เกิดประโยชน์และงานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

        2.4 งานควบคุมมลพิษและเหตุรำคาญ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 เช่น การเสนอแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันและแก้ไขอันตรายอันเกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษหรือภาวะมลพิษ จากมลพิษทางน้ำ อากาศ เสียง และมลพิษอื่น ของเสียอันตราย งานระบบระบายน้ำและบำบัดน้ำเสีย ฯลฯ รวมทั้งการป้องกันและระงับเหตุรำคาญตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น เหตุรำคาญอันเนื่องมาจากแหล่งน้ำ ทางระบายน้ำ ที่อาบน้ำ การเลี้ยงสัตว์ การกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี ความร้อน ฯลฯ เป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การควบคุมมลพิษอุตสาหกรรม และงานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

       2.5 งานคุ้มครองผู้บริโภคและวิเคราะห์สารเคมี มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ด้านสุขาภิบาลอาหารทั้งทางด้านกายภาพ ทางเคมีและทางชีววิทยา การอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร และประชาชนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารที่สะอาด ปลอดภัย การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ และงานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

        2.6 งานควบคุมสิ่งปฏิกูล มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับรับคำร้อง ขอรับบริการการสูบถ่ายสิ่งปฏิกูล ควบคุมการให้บริการ เก็บรวบรวม การขนถ่ายสิ่งปฏิกูลในการกำจัดตามหลักสุขาภิบาล การกำจัดสิ่งปฏิกูลตามหลักสุขาภิบาล การให้บริการรถสุขาเคลื่อนที่ การศึกษาวิเคราะห์ พัฒนางานด้านสิ่งปฏิกูล และงานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

3. ฝ่ายบริการสาธารณสุข มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนทางวิชาการ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย กำหนดมาตรการและแผนการให้บริการพร้อมทั้งควบคุมกำหนดการให้บริการด้านสัตวแพทย์ โดยมีหน่วยงานภายใน ดังนี้

        3.1 งานสัตวแพทย์ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมการฆ่าสัตว์ การตรวจคุณภาพเนื้อสัตว์ การชันสูตรโรคสัตว์ การควบคุมการบริหารจัดการโรงฆ่าสัตว์ การควบคุมและป้องกันโรคจากสัตว์สู่คน เช่น การควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ให้ถูกวิธี การควบคุมกำเนิดสุนัขจรจัด การตรวจสุขภาพสัตว์ในสวนสัตว์ การตรวจรักษาสัตว์ในสถานพยาบาลสัตว์ การป้องกันรักษาโรคสัตว์ในสัตว์เลี้ยงในปศุสัตว์ เพื่อมิให้โรคสัตว์ติดต่อถึงคน และงานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย